วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของ 3G

วิวัฒนาการของ 3G ก่อนที่จะเป็น 3G นั้น เทคโนโลยีได้มีพัฒนาเรื่อยมา ... G ย่อมาจาก Generation ค่ะ
  • 1G - ระบบ Analog
  • 2G - ระบบ Digital
  • 3G - ระบบ Wireless
     1G เริ่มตั้งแต่ 1G ... ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียวค่ะ ... คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น .. แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G ค่ะ แต่จริงๆแล้ว ... ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้วค่ะ
      โดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่ 2G
      หลังจากนั้น ก็ได้พัฒนาต่อมาเป็นยุค 2G ค่ะ ... ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว
      ในยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming ค่ะ ยุค 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือเลยค่ะ ...
      ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้นค่ะ 2.5G หลังจากนั้น ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ... ซึ่งก็คือ 2.5G ค่ะ
      ซึ่ง 2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้ว ... เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้นค่ะ 2.75G เพิ่มนิดนึงค่ะ ... ก่อนจะมาถึงยุค 3G เราก็ยังมี 2.75G ด้วยนะค๊ะ ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) นั่นเองค่ะ
      EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้นค่ะ 
      แต่ว่า ยุค 2.75G ของ EDGE นั้น ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการนะค๊ะ เพียงแค่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค 2.5G และ 3G เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอ่ะค่ะ
     3G ต่อมา ... ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ 3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3
      จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น ... เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น
      เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ ซึ่งถ้่าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว ... 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลยค่ะ

      คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On ... คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วยค่ะ

วิวัฒนาการของโทรศัพท์


                                                   วิวัฒนาการของโทรศัพท์
โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส

โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน[3

วิวัฒนาการของเพจเจอร์

                                                             วิวัฒนาการของเพจเจอร์    เพจเจอร์ จุดเกิดเหตุ: ยุค 90s

เกิดขึ้นเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการส่งข่าวสารถึงกันได้อย่างรวด เร็วขึ้น เพราะตอนนั้นถึงแม้โทรศัพท์จะมีการพัฒนามากขึ้น แต่ราคาก็ยังแพงหูฉี่ เพจเจอร์มีหลากรูปแบบ มีทั้งที่รับข้อความอย่างเดียว และรุ่นท็อปขึ้นมาหน่อยก็คือเป็นแบบที่มีปุ่มพิมพ์แล้วส่งได้เลยด้วยตัวไว ร์เลส เพียงแค่โทร.ไปที่ศูนย์บริการ บอกหมายเลขเครื่องผู้รับและบอกข้อความ พนักงานก็จะพิมพ์และส่งไปให้...ถ้าไม่เขินคำพูดตัวเองกับพนักงานซะก่อนนะ




ในยุคหนึ่งถ้ายังจำกันได้(ประมาณปี2530-2540) เราเคยติดต่อสื่อสารกันผ่านเครื่อง เพจเจอร์ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า แพ็กลิงค์ ส่วนในภาษาทางการบอกว่าเป็น วิทยุติดตามตัว(ก็ติดตามตัวจริง บ้างก็ติดตามเข็มขัด ห้อยกับกางเกง กระโปรงแล้วแต่ความถนัด)
วัตถุทรงสี่ เหลี่ยม ผืนผ้าสีดำ(รุ่นแรกๆ) ที่จะสั่นทุกครั้งที่มีข้อความเข้ามาที่เครื่อง เมื่อกดดูก็จะพบตัวหนังสือแสดงอยู่บนหน้าจอยาวๆ มีหลากหลายยี่ห้อ ทั้ง 152 โฟนลิ้งค์ 1500 อีซี่คอล 1144 แพ็คลิงค์(ยี่ห้อนี้ฮิตขนาดคนใช้เรียกแทน เพจเจอร์เลย คล้ายๆกับยี่ห้อ แฟ๊บ ที่เราใช้เรียกแทนผงซักฟอก) 142 เวิร์ลเพจ 162 ฮัทชิสัน 1188 สามารถ โพสต์เทล ราคาในตอนนั้นก็มีตั้งแต่ 1000-5000 บาท หมายเลขมี 7 ตัวคล้ายๆเบอร์บ้าน(ใครยังจำได้บ้าง)

แรกเริ่มเดิมที เพจเจอร์ได้รับความนิยมในแวดวงธุรกิจและข้าราชการ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในการทำงาน ส่วนนอกเวลางานก็ใช้ติดต่อธุระส่วนตัว

ในยุคนั้น เพจเจอร์ มีบทบาทอย่างมากในวงการวิทยุ โดยการเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้จัดรายการกับผู้ฟัง เพื่อใช้แจ้งข่าวสาร ขอเพลง เล่นเกมส์ ร่วมเสนอแนะ ฯ
ต่อมา เพจเจอร์ ก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นมากขึ้น ผู้ผลิตเริ่มมีการออกแบบรูปทรงให้มีความทันสมัยและมีสีสันที่สดใส หลากหลายมากขึ้น ทำให้เพจเจอร์กลางเป็นเครื่องมือสื่อสารแห่งยุคไปโดยปริยาย

หนุ่มๆสาวๆส่วนใหญ่ในตอนนั้นใช้ เพจเจอร์ ในการสานความสัมพันธ์กัน แทนการเขียนจดหมายที่ดูจะชักช้าล้าสมัยไม่ทันเวลา

จะโทรศัพท์หาก็เปลืองเงินแถมบางบ้านมีโทรศัพท์เครื่องเดียวก็ไม่สะดวก จะโทรตู้สาธารณะก็ลำบากแลกเหรียญแถมยืนขาแข็งอีก



ต่างกับเพจเจอร์ที่ ส่งข้อความเร็วและมีความเป็นส่วนตัวสูง เพราะนอกจากคอลเซ็นเตอร์ก็มี เธอเพียงคนเดียวที่ได้ข้อความ(ถ้าไม่มีใครไปแอบอ่านนะ)